Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์

ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์
Window tint car.
เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงอุดมไปด้วยแสงแดดตลอดปี ในแสงแดดนอกจากจะมีรังสีในช่วงที่ตามองเห็นแล้ว ยังมีรังสียูวี และรังสีอินฟราเรด (รังสีความร้อน) ซึ่งรังสี 2 ชนิดหลังเป็นรังสีที่ตามองไม่เห็น และเป็นรังสีที่คนไทยค่อนข้างขยาด เพราะแม้ว่ารังสียูวีจะช่วยให้ร่างกายสร้างวิตามินดีได้ แต่มันก็เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ใบหน้าและผิวพรรณของเราหมองคล้ำ เกิดฝ้า และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อโรคมะเร็งผิวหนัง นอกจากนี้รังสียูวียังทำให้วัตถุ หรือสิ่งของที่อยู่กลางแดดเสื่อมสภาพเร็ว ขึ้น เช่น เสื้อสีสดที่ตากแดดเป็นประจำสีจะซีดเร็วกว่าเสื้อที่ตากในร่ม เป็นต้น ขณะที่รังสีความร้อนหรือรังสีอินฟราเรดนั้น นอกจากจะทำให้เรารู้สึกอุ่นจนเหงื่อไหลไคลย้อยแล้ว ยังทำให้วัสดุบางชนิดเช่น พลาสติก เสื่อมสภาพเร็วขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงมีสิ่งประดิษฐ์หนึ่งเกิดขึ้นมา เพื่อป้องกันการทำลายจากรังสียูวี และรังสีความร้อน นั่นคือ ฟิล์มกรองแสง โดยนอกจากฟิล์มจะทำหน้าที่กรองแสงสว่างแล้ว ยังทำหน้าที่กรองรังสียูวีและ รังสีความร้อนที่จะทะลุผ่านเนื้อฟิล์มเข้ามาภายในอาคารหรือรถยนต์ ซึ่งช่วยลดภาระการทำงานของระบบทำความเย็น เพิ่มความสวยงามให้กับตัวรถหรืออาคาร เพิ่มความเป็นส่วนตัวแก่ผู้ที่อยู่ภายใน และช่วยลดอันตรายเมื่อกระจกแตก เนื่องจากแผ่นฟิล์มทำหน้าที่ยึดเศษกระจกแตกไว้

พัฒนาการของฟิล์มกรองแสง
บริษัท 3 เอ็ม เป็นบริษัทแรกที่ได้รับสิทธิบัตรเรื่องฟิล์มกรองแสงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1966 โดยฟิล์มกรองแสงยุคแรกที่ผลิตออกมาเป็นฟิล์มกรองแสงที่ผสมสี (dye) เข้าไปเพื่อกรองแสงสว่างเป็นหลัก ขณะที่ประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนยังค่อนข้างต่ำ

เมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น จึงมีการนำโลหะมาเคลือบลงบนแผ่นฟิล์ม เพื่อให้ฟิล์มมีสมบัติในการกรองแสงสว่าง ป้องกันรังสียูวี และรังสีความร้อน ฟิล์มที่ได้รับการเคลือบโลหะนี้ คนไทยมักเรียกว่า ฟิล์มปรอทหรือฟิล์มฉาบปรอท เนื่องจากฟิล์มเคลือบโลหะที่ผลิตออกมาในยุคแรก จะมีลักษณะแวววาวเป็นสีเงิน ขาวคล้ายโลหะปรอท และสะท้อนแสงได้ดีเหมือนกระจกเงา แต่ความจริงไม่มีการใช้โลหะปรอทเลยแม้แต่น้อย เพราะโลหะที่นิยมเคลือบบนเนื้อฟิล์มคือ โลหะอะลูมิเนียม (นอกจากการเคลือบฟิล์มกรองแสงแล้ว อะลูมิเนียมยังถูกเคลือบบนแผ่นกระจกเพื่อผลิตกระจกเงาด้วย) แต่สมบัติการสะท้อนแสงที่ดีของฟิล์มนี้กลับกลายเป็นจุดด้อย เพราะปริมาณแสงที่สะท้อนกลับออกมามากทำให้แยงตาบุคคลที่อยู่รอบข้าง ปัจจุบันฟิล์มปรอทที่สะท้อนแสงได้ดี เหมือนกระจกเงานี้ยังคงมีการใช้อยู่ แต่นิยมใช้ติดกระจกอาคาร โดยนอกจากฟิล์มจะให้ประสิทธิภาพในการกรองรังสีต่างๆ แล้ว ฟิล์มยังช่วยให้อาคารมีความสวยงามด้วย

หลังจากนั้นมีการนำเทคโนโลยีการเคลือบโลหะด้วยวิธี สปัตเตอริง (sputtering) มาใช้ ทำให้ชั้นโลหะที่เคลือบบนแผ่นฟิล์มบางลง อนุภาคโลหะที่เคลือบก็มีขนาดเล็กลง เมื่อผนวกกับการเติมสีเข้าไปในแผ่นฟิล์ม ทำให้แผ่นฟิล์มกรองแสงที่ผลิตได้มีสีสันต่างๆ ให้เลือกได้หลากหลาย และฟิล์มกรองแสงก็มีลักษณะแวววาวน้อยลง แต่ก็ยังถูกเรียกว่า ฟิล์มปรอทหรือฟิล์มฉาบปรอทอยู่เช่นเดิม

โครงสร้างของฟิล์มกรองแสง
ฟิล์มกรองแสงที่จำหน่ายในท้องตลาดมีหลากหลายชนิด แต่ฟิล์มกรองแสงทุกชนิดจะประกอบด้วย
โครงสร้างหลักดังนี้
แผ่นฟิล์มไลน์เนอร์ (protective release liner) เป็นแผ่นฟิล์มพลาสติกเคลือบซิลิโคนปิดฟิล์มกรองแสงด้านที่ทากาวไว้
กาว (adhesive) เป็นสารยึดติดคุณภาพสูง ทำหน้าที่ยึดแผ่นฟิล์มกรองแสงเข้ากับกระจก
แผ่นฟิล์มโพลิเอสเทอร์ (polyester film) แผ่นพลาสติกใสที่มีความแข็งแรง ผลิตจากแผ่นโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (polyethylene terephthalate, PET - พลาสติกชนิดเดียวกับที่ใช้ผลิตขวดน้ำดื่มใส ขวดน้ำอัดลม ขวดน้ำมันพืช ฯลฯ) โดยจำนวนชั้นของแผ่นพลาสติกใสนี้สามารถมีได้มากกว่า 1 ชั้น
ชั้นเคลือบป้องกันการขีดข่วน (scratch resistant coating) เป็นชั้นเคลือบแข็งของอะคริลิก (acrylic) ช่วยป้องกันการเกิดรอยขีดข่วนบนฟิล์มโพลิเอสเทอร์
สี โลหะ โลหะผสม และสารป้องกันรังสียูวี (dyes, metals, alloys, UV inhibitors) สารเหล่านี้ถูกเติมลงไปเพื่อให้ฟิล์มโพลิเอสเทอร ์มีสมบัติเฉพาะอย่างตามที่ ต้องการ

เรียบเรียงข้อมูลโดยmenmen

รายการบล็อกของฉัน