Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

Thailand solar bus

ประวัติและผลงานพล.อ.ท. มรกต ชาญสำรวจ
ที่คิดทำอะไรดีๆขึ้นมา หากผู้มีอำนาจมากบารมีไม่สนใจที่จะนำไปใช้ คุณภาพชีวิต คุณภาพอากาศคงไม่ดีขึ้นที่ผ่านมา...เอ็งคิดได้ก็คิดไป ฉันรอซื้อของนอก...ฟันเปอร์เซ็นต์ ดีกว่า...
พล.อ.ท. มรกต ชาญสำรวจ ปัจจุบันอายุ 80 ปี ผู้คิดค้นนวัตกรรม รถไฟฟ้า รถพลังงานเซลเชื้อเพลิง และมอเตอร์ลำแสงอินฟราเรด แล้วรู้สึกทึ่งในเรื่องราวต่าง ๆ ของท่านดังนี้ พล.ท. มรกต เคยเป็นหัวหน้าทีมออกแบบ จรวดพื้นสู่อากาศ "เห่าฟ้า" ของกองทัพไทยอันลือลั่นเมื่อ 20 กว่าปีก่อน ยศในขณะนั้น นาวาโท ในครั้งนั้นอาจจะเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว ที่กองทัพไทยสามารถประดิษฐ์คิดค้น อาวุธระดับไฮเทคในยุคสมัยของมันออกมาได้ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยนโยบายแบบไทย ๆ  "ซื้อของเขาใช้ ดีกว่านั่งทำเอง" จรวดเห่าฟ้าจึงไม่ได้ถูกพัฒนาต่อยอดเท่าที่ควร เช่นเพิ่มระบบนำร่องอิเลคทรอนิคส์ ฯลฯ   สุดท้ายก็เลยกลายเป็นอาวุธล้าสมัยและถูกลืมไปในที่สุด....
รถเมล์แสงอาทิตย์ ไทยทำคันแรกของโลก คน ไทยไม่ธรรมดา...ขอแค่มีการสนับสนุนครั้งแรกของโลกก็เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ครั้งแรกของโลกในแบบอุตริพิสดารที่ประเทศอื่นไม่ทำ ไม่กินกัน แล้วเอามาอวดอ้างครั้งแรกของโลกที่คนไทยสมควรภาคภูมิใจครั้งนี้ก็คือ...คนไทยสามารถผลิตรถเมล์พลังแสงอาทิตย์ หรือ SOLAR BUS ได้เป็นคันแรกของโลก!


ด้วยฝีมือการวิจัยและประดิษฐ์คิดค้นของ พล.อ.ท.มรกต ชาญสำรวจ อดีตเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสภาวิจัยแห่งชาติอดีตเจ้ากรมผู้นี้เป็นใคร?ผลงานในอดีต เมื่อปี 2523 เป็นผู้ประดิษฐ์จรวดเห่าฟ้าที่เคยลือลั่น หลังจากเกษียณราชการ ปี 2546 ใช้เวลาว่างและความเป็นนักวิทยาศาสตร์ ประดิษฐ์รถเก๋งพลังงานไฟฟ้า ออกวิ่งรถบนท้องถนน เสียค่าใช้จ่ายพลังงานเป็นค่าไฟฟ้ากิโลเมตรละ 50 สตางค์เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ประดิษฐ์เรือโดยสารใช้พลังงานแสงอาทิตย์บวกผสมกับพลังงานไฟฟ้าขนาด 20 ที่นั่ง...เรือแล่นทั้งวันเปลืองค่าชาร์จไฟฟ้าวันละ 70 บาทและหลังจากสะสมองค์ความรู้ประสบการณ์ด้านไฟฟ้าและพลังงานแสงอาทิตย์ได้เพียงพอ ล่าสุดสดๆร้อนๆ พล.อ.ท.มรกตประดิษฐ์รถเมล์พลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 20 ที่นั่งได้เป็นผลสำเร็จความพิเศษของรถบัสคันนี้ มีทั้งทีวีจอยักษ์ ติดแอร์เย็นฉ่ำ และออกทดลองวิ่งบนท้องถนนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

“การคิดประดิษฐ์รถยนต์พลังงานแสงอาทิตย์ที่ผ่านมา มีการประดิษฐ์ เฉพาะในรถขนาดเล็ก เพื่อการแข่งขันและการประกวดเท่านั้น ไม่เคยมีการนำโซลาร์เซลส์มาใช้กับรถบัสขนาด 20 ที่นั่งอย่างนี้มาก่อนประกอบกับประเทศยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตรถยนต์ของโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ยุโรป แม้กระทั่งญี่ปุ่น ล้วนแต่เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตหนาว แสงแดดมีน้อย ไม่มากล้นเหมือนประเทศที่อยู่ในเขตร้อนอย่างบ้านเรา

ประเทศอุตสาหกรรมรถยนต์เหล่านั้นจึงไม่คิดที่จะประดิษฐ์รถยนต์ พลังงานแสงอาทิตย์สักเท่าไร เราก็เลยมีโอกาสที่จะผลิต SOLAR BUS ได้เป็นคันแรกของโลก”
อดีตเจ้ากรมสรรพาวุธทหารอากาศยืนยันให้หายสงสัยสิ่งสำคัญที่สุดของรถเมล์คันนี้อยู่ตรงระบบขับเคลื่อนทำยังไง ให้รถคันนี้วิ่งได้โดยใช้พลังงานให้น้อยที่สุด เพื่อพื้นที่รับแสงอาทิตย์ บนหลังคาที่มีอยู่อย่างจำกัดสามารถวางแผงโซลาร์เซลส์ได้เพียงพอ ต่อความต้องการของระบบขับเคลื่อน


“รถเมล์พลังไฟฟ้าขนาด 20 ที่นั่ง ที่การคิดประดิษฐ์ขึ้น ส่วนใหญ่จะใช้ มอเตอร์ประสิทธิภาพต่ำ กินไฟมาก ให้แรงม้าต่ำ กินไฟฟ้าประมาณ 10-20 กิโลวัตต์ ให้กำลังสูงสุด 28 แรงม้า ถ้าใช้มอเตอร์แบบนี้ พื้นที่หลังคารถ มีไม่พอที่จะติดตั้งโซลาร์เซลส์ได้ผมเลยออกแบบมอเตอร์ใหม่ ให้กินไฟแค่ 3 กิโลวัตต์ แต่ให้กำลังสูงสุดถึง 34 แรงม้า และติดตั้งมอเตอร์ขับเคลื่อนล้อไป 2 ตัว กินไฟรวมกันก็แค่ 6 กิโลวัตต์ ให้กำลังงานสูงสุดถึง 68 แรงม้า”การออกแบบให้มอเตอร์ขับเคลื่อนกินไฟน้อย ให้พลังงานสูง ไม่เพียงจะทำให้พื้นที่บนหลังคาสามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์มาป้อนให้รถได้ เพียงพอแล้ว ยังทำให้การใช้แบตเตอรี่เก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากโซลาร์เซลล์น้อยลงแบตเตอรี่น้อย...น้ำหนักรถก็เบาขึ้น รถซดพลังงานน้อยลงไม่เหมือนมอเตอร์รถไฟฟ้าแบบทั่วไป จะขับเคลื่อนรถเมล์ขนาด 20 ที่นั่งให้วิ่งไปได้ ต้องใช้แบตเตอรี่มากถึง 81 ลูก

แต่ SOLAR BUS ของ พล.อ.ท.มรกต ใช้แบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนมอเตอร์แค่ 16 ลูก
จุดสำคัญอีกประการในการคิดประดิษฐ์ออกแบบรถเมล์คันนี้ก็คือ การเลือกใช้โซลาร์เซลส์ที่ให้กำลังไฟฟ้าสูงและสอดคล้องกับสภาพใช้งาน
โซลาร์เซลส์มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 แบบ...1. แบบอะมอร์ฟัส (Amorphous), 2. แบบผลึกเดี่ยว (Single Crystalline) และ 3.แบบผลึกรวม (Multi Crystalline)“แบบอะมอร์ฟัสราคาถูกสุด ให้พลังงานไฟฟ้าต่ำสุด เอามาติดตั้งกับรถเมล์ต้องใช้มากถึง 20 แผง พื้นที่บนหลังคามีไม่พอ ส่วนแบบผลึกรวมมีราคาแพง และมีประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นไฟฟ้าได้มากที่สุดแต่ของดีที่สุดแพงที่สุดไม่เหมาะจะนำมาใช้กับรถเมล์ที่วิ่งไปวิ่งมา เดี๋ยวเจอแดด เดี๋ยวเจอเงาตึก เงาสะพานลอยบังแผง

โซลาร์เซลส์แบบผลึกรวมถึงจะดี แต่มีข้อเสีย ระหว่างที่รถวิ่งไปเกิดไปเจอเงา มาบดบังแผงส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือเพียงเสี้ยวหนึ่ง วงจรของแผงโซลาร์เซลส์จะช็อตเสียหายทันทีแตกต่างจากโซลาร์เซลส์แบบผลึกเดี่ยว ถึงจะให้พลังไฟฟ้าน้อยกว่า แต่เจอเงามาบังก็ไม่เป็นอะไร เราจึงเลือกใช้มาติดตั้งกับ SOLAR BUS คันนี้”และเพื่อให้ใช้งานได้จริง เหมาะกับสภาพอากาศของเมืองไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ อากาศทั้งร้อนทั้งเต็มไปด้วยฝุ่นควันมลพิษ พล.อ.ท.มรกต จึงออกแบบรถให้มีเครื่องปรับอากาศติดแอร์เย็นฉ่ำ“เครื่องปรับอากาศที่นำมาใช้กับรถคันนี้เป็นเครื่องปรับอากาศแบบที่ใช้ ตามบ้านเรือนทั่วไป ขนาด 18,000 บีทียู โดยการแปลงระบบไฟฟ้าจากใช้ไฟบ้านมาเป็นใช้ไฟจากแบตเตอรี่แทน”

เหตุผล ที่ต้องเอาแอร์บ้านมาติดกับรถเมล์ เจ้ากรมฯอธิบายว่า แอร์บ้านกินไฟน้อยกว่าและเสียงก็เงียบกว่าแอร์รถยนต์ แบตเตอรี่ 4 ลูก เสียบปลั๊ก ชาร์จไฟเต็ม วิ่งวันละ 7-8 ชั่วโมง สามารถใช้ได้ถึง 2 วัน
สรุปแล้ว รถเมล์คันนี้ใช้แบตเตอรี่ทั้งหมด 24 ลูก...16 ลูก ใช้กับระบบขับเคลื่อน, 4 ลูก ใช้กับระบบแอร์ ส่วนแบตเตอรี่อีก 4 ลูก ใช้กับระบบพวงมาลัยพาวเวอร์ ระบบเบรกพาวเวอร์ ระบบเปิด-ปิดประตูอัตโนมัติ เครื่องเสียงและโทรทัศน์จอขนาด 42 นิ้ว

แบตเตอรี่ 24 ลูก บวกผสมกับแผงโซลาร์เซลส์เต็มพื้นที่บนหลังคารถ ...รถเมล์คันนี้ วิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุด 60 กม.ต่อชั่วโมง และวิ่งได้ไกลประมาณ 60 กม.
หลายคนอาจจะสงสัย รถเมล์วิ่งได้ไกลแค่นี้ เร็วแค่นี้ จะไปทำอะไรได้?
“รถเมล์คันนี้ออกแบบมาสำหรับวิ่งในกรุงเทพฯ เน้นโดยเฉพาะพื้นที่มีการจราจร หนาแน่น รถติดตลอดทั้งวัน ตามวัตถุประสงค์ของสภาวิจัยแห่งชาติ ที่ต้องการให้รถคันนี้เป็นทางเลือกในการช่วยลดมลพิษบนท้องถนนของกรุงเทพฯ
คุณลองหลับตานึกภาพดู รถที่วิ่งได้ไกลแค่ 60 กม.
นี่ จะวิ่งไป-มา ทั้งวันได้หรือไม่ ถ้าเอาไปให้วิ่งรับ-ส่งผู้โดยสาร ระหว่างเยาวราชไปถนนตก ถนนเส้นนี้ระยะทางแค่ 6 กม. วิ่งไปกลับ 5 เที่ยว เพื่อให้ได้ระยะทาง 60 กม. ต้องใช้เวลาในการวิ่งทั้งวันหรือเปล่า”และไม่จำเป็นต้องออกแบบให้รถวิ่งให้เร็วมาก เพราะรถติดตลอดเวลา วิ่งได้เร็ว 60 กม.ต่อชั่วโมงก็มากเกินพอแล้วสำหรับพื้นที่จราจรแออัดอย่างนี้ ที่สำคัญรถติด หยุดอยู่กับที่ รถคันนี้นอกจากจะไม่ซดไฟฟ้า ไม่ปล่อยมลพิษ... รถยังได้เวลาชาร์จไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ไปเก็บสะสมไว้ในแบตเตอรี่ได้เต็มที่ อีกด้วย รถคันนี้จึงสามารถวิ่งได้ไกลเกิน 60 กม.ได้ไม่ยาก ที่บอกว่าวิ่งได้ 60 กม. เป็นกรณีที่แบตเตอรี่ชาร์จไฟเต็ม และให้รถวิ่งไปโดยไม่มีการใช้ระบบโซลาร์เซลส์มาช่วยชา ร์จเติมไฟให้แบตเตอรี่แต่อย่างใดถ้าให้โซลาร์เซลส์เติมไฟฟ้าได้มาก รถก็วิ่งได้ระยะทางเพิ่มมากขึ้นตามความแรงของแสงอาทิตย์ที่ส่องกระทบลงมากระนั้นก็ตาม ผลงานชิ้นนี้ แม้จะเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย ...แต่คงเป็นได้แค่หนึ่งทางเลือก หนึ่งความสามารถของคนไทย..
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen

รายการบล็อกของฉัน